งานประกาศรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ ครั้งที่ 94 หรือออสการ์ มีเรื่องราวมากมายให้เล่าขาน หนึ่งในนั้นคือความสำเร็จสำคัญของวงการกีฬาบนโลกภาพยนตร์

มีภาพยนตร์สารคดีสั้นน้ำดีที่ผงาดคว้ารางวัล “สารคดีสั้นยอดเยี่ยม” จากเวทีออสการ์ และสารคดีเรื่องนั้นบอกเล่าถึงเรื่องราวของนักบาสเกตบอลหญิงที่เคยสร้างปรากฏการณ์ในยุค 70s บนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา

ชื่อของ ลูเซีย แฮร์ริส คือชื่อที่แม้แต่แฟนบาสเกตบอลหลายคนที่อ้างว่าเป็นผู้รู้ยังไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่หลังจากเรื่องราวของเธอถูกเปลี่ยนเป็นภาพยนตร์ พร้อมกับคว้ารางวัลบนเวทีออสการ์ เรื่องราวของเธอจะไม่มีวันถูกลืมไปตลอดกาล

จุดเริ่มต้นของสุดยอดตลอดกาล

ลูเซีย แฮร์ริส เกิดที่มินเทอร์ ซิตี้ รัฐมิสซิสซิปปี ในครอบครัวที่มีพี่น้องถึง 11 คน เมื่อประกอบกับครอบครัวที่คุณพ่อและคุณแม่ ทำงานเป็นคนเก็บฝ้ายในไร้ ทำให้ชีวิตของเธอต้องอยู่ในชุมชนคนผิวดำที่ยากจนของเมือง

“ชีวิตของฉันในตอนนั้นไม่มีอะไรเลย แต่ก็ไม่ได้รู้สึกต้องการอะไรนะ เพราะชีวิตที่แท้จริงของฉันเริ่มต้นหลังกลับจากโรงเรียน พวกเราจะมาเล่นบาสเกตบอลกันที่บ้าน” ลูเซีย เล่าถึงเรื่องราวของเธอ

หลังบ้านของครอบครัวแฮร์ริสมีเสาไม้สูงหนึ่งอันที่ด้านบนประกอบด้วยแป้นบาสที่ทำจากไม้อัด และมีห่วงห้อย ๆ ไร้ตาข่าย เพื่อให้เด็ก ๆ ของครอบครัวได้มาเล่นสนุกกันในช่วงเย็นของทุกวัน

ชีวิตของเด็ก ๆ ไม่ได้ต้องการเงินทอง เกียรติยศ หรือชื่อเสียง แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการมีเพียงแค่รอยยิ้มและความฝัน ซึ่งแป้นบาสเก่า ๆ หลังบ้านของตระกูลแฮร์ริสทำให้ลูเซียมีความฝันที่อยากจะเป็นนักบาสเกตบอลอาชีพ

จากการที่เธอมีแป้นบาสส่วนตัวอยู่หลังบ้านทำให้เกือบทุกวันเธอจะซ้อมบาสจนดึก และเวลาไหนที่เธอไม่ได้ออกไปเล่นสนุกกับกีฬาที่เธอรัก เธอก็จะเปิดโทรทัศน์ที่บ้านเพื่อติดตามนักบาสในดวงใจอย่าง บิล รัสเซลล์, วิล แชมเบอร์เลน และ ออสการ์ โรเบิร์ตสัน

“ฉันแค่อยากจะโตขึ้น และชูสบาสให้ได้เหมือนพวกเขา” ลูเซีย แฮร์ริส เล่าถึงฝันเดียวที่เธอมีในวัยเด็ก

ความรักในกีฬาบาสเกตบอลและด้วยรูปร่างของ ลูเซีย แฮร์ริส ที่สูงใหญ่ระดับ 190 เซนติเมตรตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยม ทำให้เธอเริ่มต้นความฝันได้อย่างง่ายดายด้วยการเป็นสมาชิกทีมบาสเกตบอลของโรงเรียน

หลังจากได้เรียนรู้การเล่นบาสเกตบอลอย่างเป็นระบบ ฝีมือของ ลูเซีย แฮร์ริส ก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว เธอกลายเป็นหนึ่งในนักบาสเกตบอลที่มีผลสวรรค์มากที่สุดตลอด 3 ปีในระดับชั้นมัธยมปลาย เธอได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมของโรงเรียน รวมถึงติดทีมยอดเยี่ยมของรัฐมิสซิสซิปปีระดับไฮสคูล เพราะการทำแต้มระดับ 40 แต้มต่อเกมเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงคนนี้

ความโดดเด่นในระดับโรงเรียนส่งผลให้ชีวิตในระดับมหาวิทยาลัยของลูเซียไม่ใช่เรื่องยาก เธอได้รับทุนการศึกษาในฐานะนักกีฬาของมหาวิทยาลัยเดลต้าสเตท ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐมิสซิสซิปปี ในฐานะนักบาสเกตบอลหญิงผิวดำคนเดียวของทีม

“การเป็นนักบาสผิวดำคนเดียวในทีมเป็นเรื่องที่ฉันต้องยอมรับ เพราะมันทำให้ฉันไม่มีเพื่อนสนิทแม้แต่คนเดียว แต่ถ้าคุณได้เห็นเราเล่นด้วยกันบนคอร์ต คุณจะไม่มีทางเข้าใจเรื่องนี้เลย (เรื่องที่ลูเซียไม่สนิทกับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น)”

“เพราะฉันรู้หน้าที่ของตัวเองดีว่าฉันต้องได้บอลและต้องทำแต้มให้ได้ ซึ่งฉันทำแต้มได้จริง ๆ นะ (หัวเราะ)” ลูเซีย กล่าว

สีผิวไม่ใช่สิ่งที่จะมาหยุดยั้งผลงานที่ยอดเยี่ยมของลูเซียในฐานะสุดยอดผู้เล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์ เธอพามหาวิทยาลัยเดลต้าสเตท คว้าแชมป์ระดับชาติ ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานกีฬาในระดับมหาวิทยาลัยของผู้หญิง (เปรียบได้กับ ของผู้ชายในช่วงเวลานั้น) ได้ถึง 3 สมัยซ้อน ในปี 1975 ถึง 1977

เท่านั้นยังไม่พอ ลูเซีย ยังคว้ารางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า หรือ ตลอด 3 ฤดูกาลที่เธอช่วยให้เดลต้าสเตทคว้าแชมป์อีกด้วย

 

UFABETWIN

ความเก่งกาจของ ลูเซีย แฮร์ริส ไม่ได้ส่งผลดีกับตัวเธอและมหาวิทยาลัยเดลต้าสเตทเพียงอย่างเดียว แต่ช่วยให้เกิดกระแสบาสเกตบอลหญิงในระดับมหาวิทยาลัยบูมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ชนิดที่เรียกว่ามีค่าเฉลี่ยผู้ชมอยู่ในระดับ 4,500 คน ที่มากกว่าบาสเกตบอลชายเป็นเท่าตัว

“ในตอนนั้นผู้หญิงนั่งเครื่องบินไปแข่งบาสเกตบอลแต่ผู้ชายยังไม่ได้นั่งเลยนะ (หัวเราะ) ฉันคิดว่าตอนนั้นผู้หญิงสุดยอดกว่าเยอะ … ฉันคิดว่าถ้าวัดแค่ระดับมหาวิทยาลัย ฉันคือนักบาสเกตบอลที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา” ลูเซีย แฮร์ริส กล่าว

ผู้หญิงคนแรกและคนเดียวที่ถูกดราฟต์โดย เอ็นบีเอ

ณ เวลานั้น ลูเซีย แฮร์ริส ได้รับการยกย่องจากแฟนบาสในฐานะผู้หญิงที่เล่นเกมยัดห่วงได้ดีที่สุดตั้งแต่โลกใบนี้เคยมีมา ในฐานะกระดูกสันหลังที่ทำให้มหาวิทยาลัยเดลต้าสเตทคว้าแชมป์ระดับประเทศ 3 ปีติดต่อกัน ทำให้มีไม่กี่คนที่จะเห็นต่างจากคำยกยอที่ลูเซียได้รับ

นอกจากนี้ ลูเซีย แฮร์ริส ยังติดทีมชาติสหรัฐอเมริกา ไปแข่งขันโอลิมปิก เกมส์ 1976 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งในครั้งนั้นถือเป็นครั้งแรกที่มีการแข่งขันบาสเกตบอลของผู้หญิงในโอลิมปิก

ลูเซีย แฮร์ริส สร้างประวัติศาสตร์ในฐานะ นักบาสหญิงคนแรกที่ทำแต้มได้ในโอลิมปิก เกมส์ ก่อนที่เธอจะพาสหรัฐอเมริกาไปคว้าเหรียญเงิน หลังจากแพ้ให้กับสหภาพโซเวียตในรอบชิงชนะเลิศ

การพาสหรัฐฯ คว้าเหรียญรางวัลจากโอลิมปิก คือความสำเร็จสูงสุดในชีวิตของเธอ และหลังจาก 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยจบลง ชีวิตของ ลูเซีย แฮร์ริส ก็ต้องพลิกผันอีกครั้ง จากนักบาสที่ร้อนแรงที่สุดในสหรัฐฯ สู่การเป็นผู้หญิงธรรมดาที่ตกงานหลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัย

“ในตอนนั้นยังไม่มีลีกบาสเกตบอลของผู้หญิง ฉันอยากเล่นบาสต่อแต่ก็ทำอะไรไม่ได้” ลูเซีย แฮร์ริส เล่าถึงชีวิตที่กลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง

“ฉันคิดว่าตอนนั้นฉันป่วยเป็นโรคทางจิตด้วย น่าจะเป็นไบโพลาร์ มันเกิดขึ้นหลังจากที่ฉันไม่ได้เล่นบาสเกตบอลแล้ว”

ขีวิตของ ลูเซีย แฮร์ริส กำลังร่วงหล่นจากจุดสูงสุดลงกระแทกพื้นด้วยความเจ็บปวด แต่อยู่ ๆ วันหนึ่งเธอก็ได้รับโทรศัพท์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งมันทำให้ชีวิตเธอเต็มไปด้วยความหวังอีกครั้ง

“ฉันได้รับโทรศัพท์จากทีมนิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ (ปัจจุบันคือ ยูทาห์ แจ๊ซ) พวกเขาบอกว่าได้ดราฟต์ฉันเข้าสู่ลีก เอ็นบีเอ ในรอบที่ 7 และอยากให้ฉันบินมาซ้อมร่วมกับทีม”

ลูเซีย แฮร์ริส กลายเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของ เอ็นบีเอ ที่ถูกดราฟต์อย่างเป็นทางการ และได้รับการรับรองจากลีก เพราะชื่อเสียงของเธอ ทำให้แม้แต่ลีกของผู้ชายยังให้การยอมรับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายที่จะลองให้โอกาสนักบาสเกตบอลหญิง ที่เก่งที่สุดให้ลองลงเล่นกับทีมแจ๊ซ

อย่างไรก็ตามลูเซียได้เลือกทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด กับโอกาสที่จะได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักบาสหญิงคนแรกของ เอ็นบีเอ เพราะเธอปฏิเสธข้อเสนอของ นิวออร์ลีนส์ แจ๊ซ

“ฉันเลือกปฏิเสธ เอ็นบีเอ ใช่ แม้มันจะทำให้ฉันเป็นคนตกงานต่อไปก็ตาม ฉันแค่คิดว่าฉันคงดีไม่พอที่จะเล่นใน เอ็นบีเอ ถึงจะเป็นสุดยอดนักบาสหญิงแต่ฉันก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสู้กับผู้ชายได้”

ลูเซียเลือกปฏิเสธโอกาสที่ยิ่งใหญ่และขออยู่กับความเป็นจริง เธอเลือกแต่งงานมีลูกพร้อมกับดิ้นรนอย่างหนักเพื่อหางาน หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว แต่ก็ได้พบแต่ความผิดหวัง

“ฉันพยายามสมัครงานเป็นโค้ชให้กับหลาย ๆ ทีม แต่ไม่มีใครต้องการฉันเลย เหมือนไม่มีใครต้องการให้ไปฉันยืนอยู่ในจุดนั้น ฉันเครียดมาก ๆ เลยล่ะตอนนั้น” ลูเซีย แฮร์ริส กล่าว

หลังจากต้องต่อสู้อยู่นาน ในที่สุดลูเซียก็ได้งานเป็นโค้ชบาสเกตบอลให้กับโรงเรียนสมัยมัธยมของเธอ ซึ่งนั่นไม่ได้แค่ช่วยให้เธอมีรายได้ในการใช้ชีวิต แต่ยังช่วยให้เธอได้ฟื้นฟูสภาพจิตใจที่แตกสลายอีกครั้ง

“ฉันได้กลับมามองความสำเร็จของตัวเองในอดีตอีกครั้ง การเป็นแชมป์ของประเทศ 3 สมัย แถมเคยไปแข่งโอลิมปิก ฉันว่ามันน่าประทับใจมากเลย”

“ฉันมีความทรงจำที่ดีเสมอกับบาสเกตบอล ส่วนเรื่องการปฏิเสธ เอ็นบีเอ ฉันไม่เคยเสียใจแม้แต่นิดเดียวเลยนะ เพราะอะไรน่ะเหรอ ? ฉันเลี้ยงลูกจนเป็นทนายความ จบปริญญาเอก เรียนจบหมออีก 2 คน”

แม้ว่าเส้นทางของ ลูเซีย แฮร์ริส ในฐานะบาสเกตบอลจะจบลงอย่างรวดเร็ว ความเป็นผู้หญิงทำให้เธอไม่มีโอกาสได้เดินในเส้นทางเดียวกับนักบาสร่วมรุ่นที่กลายเป็นตำนานของ เอ็นบีเอ ทั้ง แลร์รี่ เบิร์ด และ แมจิค จอห์นสัน

 

UFABETWIN

ผู้คนทำได้แค่สงสัยว่า หาก ลูเซีย แฮร์ริส เกิดเป็นผู้ชายเธอจะกลายเป็นตำนานเหมือน เบิร์ด และ แมจิค หรือไม่ แต่เส้นทางของผู้หญิงคนนี้ไม่มีอะไรต้องเสียใจ เพราะลูเซียกลายเป็นผู้หญิงเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกที่ได้เข้าสู่หอเกียรติยศของบาสเกตบอลในปี 1992 ผ่านการเสนอชื่อโดยไอดอลในดวงใจของเธอ ออสการ์ โรเบิร์ตสัน

“ถ้าฉันยังคงเล่นต่อโลกคงรู้จักชื่อของฉันมากกว่านี้ แต่ฉันไม่ได้เล่น ดังนั้นก็คงไม่มีใครจำฉันได้เท่าไหร่นักหรอก” ลูเซีย แฮร์ริส กล่าว

สู่ชัยชนะบนเวทีออสการ์

ยิ่งเวลาผ่านไปเรื่องราวของ ลูเซีย แฮร์ริส ยิ่งจางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของกีฬาบาสเกตบอล แม้แต่แฟนเดนตายของกีฬานี้หลายคนก็ไม่เคยรู้เรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ของเธอ

ถึงแม้ว่าหลายคนจะไม่รับรู้เรื่องราวของราชินีแห่งบาสเกตบอล แต่ยังมีหลายคนที่ได้รับรู้เรื่องราวของเธอ และยกย่องเธอในฐานะตำนานของบาสเกตบอล

ต้องขอบคุณ เบน พราวด์ฟุต ผู้กำกับไฟแรงที่ได้รับรู้เรื่องราวความยิ่งใหญ่ของลูเซีย พร้อมกับตั้งคำถามกับตัวเองว่า นักบาสที่ยิ่งใหญ่แบบนี้เหตุใดถึงไม่มีคนรู้จัก ทำให้เขาไม่รีรอที่จะกางโปรเจ็กต์ทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับเรื่องราวของ ลูเซีย แฮร์ริส

“ผมหวังแค่ว่าภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้จะทำให้ชาวอเมริกันได้รับรู้เรื่องราวของคุณนายแฮร์ริส เพราะถ้าเธอเกิดในยุคนี้เธอคงเป็นยิ่งกว่าซูเปอร์สตาร์ เธอจะกลายเป็นสมบัติของชาติแน่นอน” พราวด์ฟุต กล่าว

เป็นโชคดีที่สองนักบาสเกตบอลชื่อดังของ เอ็นบีเอ อย่าง ชาคีล โอนีล และ สเตฟเฟ่น เคอร์รี่ เป็นคนที่รู้ถึงความยิ่งใหญ่ของนักบาสรุ่นพี่ อย่าง ลูเซีย แฮร์ริส เช่นกัน จึงได้ตัดสินใจร่วมมือกับ เบน พราวด์ฟุต ในฐานะโปรดิวเซอร์ของสารคดีเรื่องนี้ด้วย

เมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากสองนักบาสระดับโลก โปรเจ็คต์นี้ก็เดินหน้าแบบไร้ปัญหา และได้ปรากฏออกมาเป็นภาพยนตร์สั้นในชื่อ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ ลูเซีย แฮร์ริส ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

หลังจากออกฉาย ภาพยนตร์สารดีสั้นเรื่องนี้ได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากนักวิจารณ์ กับการแสดงถึงความยากลำบากของชีวิตนักกีฬาหญิงในอดีตที่แสดงถึงประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดขึ้น ซึ่งชวนให้คนรุ่นใหม่ต้องย้อนนึกทบทวนดูว่าความไม่เท่าเทียมกันส่งผลกับโอกาสของมนุษย์อย่างไรบ้าง ผ่านชีวิตของนักกีฬาหญิงในอดีตกับเรื่องราวของ ลูเซีย แฮร์ริส

ด้วยเสียงชื่นชมที่ล้มหลามทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดส์ หรือ ออสการ์ ครั้งที่ 94 ในสาขาสารคดีสั้นยอดเยี่ยม และคว้ารางวัลมาครองได้สำเร็จ

น่าเสียดายที่ความสำเร็จครั้งใหญ่ครั้งนี้ ลูเซีย แฮร์ริส ไม่มีโอกาสได้เห็นด้วยตาของเธอเอง เพราะเธอเสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 66 ปี ในวันที่ 18 มกราคม 2022 ที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่า ลูเซีย แฮร์ริส จะจากโลกใบนี้ไปแบบไม่มีวันกลับ แต่อย่างน้อยเรื่องราวของเธอได้ถูกบันทึกไว้ผ่านสารคดี และแม้ตัวจะจากไปแต่ภาพยนตร์สั้นเรื่องเยี่ยมที่การันตีด้วยรางวัลออสการ์เรื่องนี้ คือสิ่งที่บันทึกความยิ่งใหญ่และมรดกที่ผู้หญิงคนนี้ได้สร้างไว้ให้กับวงการบาสเกตบอล และจะไม่มีทางถูกทำให้เลือนหายไปได้อีก

UFABETWIN