กล้าเดิมพันร้อยเอาบาทเดียว ว่าบรรดาทีมใหญ่ยุโรป ย่อมต้องเคยเป็นลูกค้าของ โมนาโก ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
โอเรอเลียง ชูเมนี่ กองกลางวัย 21 ปี คือแข้งล่าสุดจากค่าย โมนาโก ที่สร้างปรากฏการย์พูดถึงในวงกว้างรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
นั่นเพราะผลงานระดับสโมสรต่อเนื่องทีมชาติฝรั่งเศสชุดแชมป์ ยูฟ่า เนชั่นส์ ลีก ที่ผ่านมาทำให้ เรอัล มาดริด ขาใหญ่แห่งสเปนพร้อมเปย์ 60 ล้านยูโรเพื่อดึงร่วมงาน
แต่มันคงไม่ง่ายขนาดนั้นเพราะทาง ยูเวนตุส ก็อยากได้ หรือจะเป็นค่ายใหญ่เงินถึงจาก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ไม่ว่า แมนฯ ยูไนเต็ด, แมนฯ ซิตี้ หรือ ‘หงส์แดง’ เองก็ด้วย
หากปล่อยได้ราคานั้นจริงก็เท่ากับว่าทศวรรษที่ผ่านมา โมนาโก สร้างเม็ดเงินจากการจำหน่ายผู้เล่นไปค้าแข้งต่างแดนเกือบพันล้านยูโร ว่าแต่พวกเขาทำไมสามารถหาตัวใหม่แววดีมาเสริมสม่ำเสมอแบบนั้น?
คนที่ให้คำตอบได้ดีสุดคือผู้วางยุทธศาสตร์ในเรื่องดังกล่าวเอง
“ปรัชญาสโมสรเราคือ เซ็นสัญญาสม่ำเสมอกับผู้เล่นหนุ่ม และเปี่ยมความสามารถ ที่ถูกแวดล้อมไปด้วยแข้งมากประสบการณ์ ที่สามารถช่วยน้องๆ ในการพัฒนาตัวเอง” อดีตประธานสโมสร โมนาโก อย่าง วาดิม วาซิลเยฟ กล่าว
ฤดูกาล 2016-17 คือไฮไลท์ผลงาน ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว เมื่อทีมไปถึงตำแหน่งแขมป์ ลีก เอิง ฝรั่งเศส ขณะที่รายการ แชมเปี้ยนส์ ลีก ฝ่าฟันถึงรอบรองชนะเลิศ
อีกบุคลากรเบื้องหลังที่ควร ได้รับความดีความชอบคือ หลุยส์ กัมโปส ผู้วางโครงสร้างยัง สต๊าด หลุยส์ II อยู่หลายปีก่อนจะไปแจ้งเกิดเต็มตัวที่ ลีลล์ ช่วงซัมเมอร์ 2017
“หน้าที่ของผมคือ ปรับโครงสร้างสโมสรที่ ณ ขณะนั้นยังไม่พร้อมขึ้นไป ท้าทายการแข่งขันระดับสูง” นักยุทธศาสตร์ลูกหนัง ที่ไปรับงานตั้งแต่ปี 2013 ว่าบ้าง
“วางกรอบระเบียบการคัดสรรบุคลากร คือหนึ่งในก้าวแรกของเรา”
“ตอนแรกที่รับงาน ก็เจอผู้เล่นค่าจ้างแพงอย่าง ราดาเมล ฟัลเกา, ฮาเมส โรดรีเกซ และ ชูเอา มูตินโญ่”
“แต่ทันใดนั้นงบประมาณ ที่เคยถูกทุ่มลงมาก็ถูกตัดทอน และเราต้องไปมองหาผู้เล่นหนุ่มแทน เลือกเอาคนที่สามารถพัฒนา และขายต่อ ราคาตอนเข้ามาอยู่ด้วยกัน ต้องสมเหตุสมผลกับสโมสร”
นับจากนั้นมาเมล็ดพันธุ์ที่หว่านก็ผลิดอกออกผล สโมสรมีเงินขาเข้ารวมกว่า 978 ล้านยูโร ขีดเส้นใต้เฉพาะหลังปี 2011 ก็กว่า 952 ล้านยูโร
“ผมหยุดเข้าไปทำงานที่สำนักงานสโมสรวันแล้ววันเล่าอีกเลย เริ่มการใช้ชีวิตยบนเครื่องบิน, ซุกหัวที่โรงแรมและแวะเวียนไปตามสนามฟุตบอลต่างๆทั่วโลก” กัมโปส เสริม
“โชคดีที่ วาดิม เชื่อในตัวผมและการตัดสินใจเลือกเข้าทีม ความสามารถสโมสร ณ ตอนนั้นกุญแจสำคัญคือสามารถซื้อผู้เล่นได้ในราคาถูก”
ยกตัวอย่างเด่นๆเช่น อองโตนี่ มาร์กซิยาล เซ็นมาตอนปี 2013 แค่ห้าล้านยูโร แต่ขายไป แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ 60 ล้านยูโรในสองปีต่อมา
เรื่องลักษณะเดียวกันเกิดกับ โตมาส์ เลอมาร์ ที่เซ็นจาก ก็อง 4 ล้านยูโรเมื่อปี 2015 จากนั้นย้ายไป แอต.มาดริด ด้วยตัวเลขติดจรวด 72 ล้านยูโร เมื่อปี 2018
เงินทองมากมายยังไหลเข้าบัญชีโมนาโกในปีเดียวกันนั้นเอง
ติเยมูเอ้ บากาโยโก้ ย้ายออกไป เชลซี ราคา 40 ล้านยูโร มูลค่าขึ้นมาห้าเท่าจากตอนซื้อทีแรก 8 ล้านยูโร
ลูกค้าชั้นดี ลิเวอร์พูล ซื้อ ฟาบินโญ่ ไป 45 ล้านยูโร จากราคาทุน 6 ล้านยูโร
แบร์นาร์โด้ ซิลวา สอยจาก เบนฟิก้า 15.75 ล้านยูโร ขายต่อให้ แมนฯ ซิตี้ 50 ล้านยูโร
“ผมยังจำวันแรกที่ โมนาโก ได้เลย” กัมโปส เสริมถึงกรณี แบร์นาร์โด้
“ผู้คนเอาแต่กังขาว่า – ไอ้หมอนี่ใคร? ตัวเล็กไปหรือเปล่า -“
“เขาเล่นให้ เบนฟิก้า ตั้งแต่ระดับอะคาเดที่ และดิวิชั่น 2 แต่ปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในนักเตะที่ดีสุดของโลก”
แล้วแน่นอนเพชรยอดมงกุฎคงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก คีลิยัน เอ็มบั๊ปเป้ ซึ่งก้าวมาอยู่ในซีนปี 2017 ก็สามารถสร้างรายได้ตอบแทน โมนาโก ในอีกไม่กี่จากนั้นถึง 145 ล้านยูโร
โครงสร้างบริหารของ โมนาโก มีการเปลี่ยนมือผอ.กีฬาอีกหลายคนหลังปี 2017 แต่ทุกรายที่มารับตำแหน่งก็ยึดถึงหลักการทำงานเดิมนั่นคือซื้อถูก-ขายแพง เน้นดาวรุ่งมีศักยภาพ
แม้ช่วงหลังตลาดราคาเฟ้อแต่มูลค่า 18 ล้านยูโรที่ โมนาโก ไปซื้อ ชูอาเมนี่ จาก บอร์กโดซ์ เมื่อปี 2020 กำลังจะเบ่งบานเป็นผลกำไรอีกหลายเท่าไม่นานจากนี้
“เขาเป็นผู้เล่นที่เราติดตามผลงานมานาน” โอเล็ก เปตรอฟ ผจก.ทั่วไป โมนาโก พูดถึงกองกลางวัย 21 ปี
“การเซ็นสัญญาหมอนั่นดำเนินไปตามยุทธศาสตร์สโมสรทุกอย่าง นั่นคือผู้เล่นอายุน้อยเปี่ยมศักยภาพ”
เชื่อว่า โมนาโก พาณิชย์ คงมีสิ้นค้าดีๆมาจำหน่ายอีกสม่ำเสมอเมื่อยุทธศาสตร์ชัดเจน รวมถึงประสบการณ์ด้านนี้หลายปี ฝังเครือข่ายแมวมองคอยป้อนวัตถุดิบคุณภาพมาจากทั่วโลก
ไหนๆก็ไหนๆ ‘หงส์แดง’ ผูกปิ่นโตไปเลยก็ดีเหมือนกัน
คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล